ส่วนประกอบของศาสานา
ศาสนาต่างจากอาณาจักรทางโลก โดยมีส่วนประกอบกันขึ้นเป็นศาสนจักร ทำนอง เดียวกับอาณาจักทางโลก ก็ย่อมมีส่วนประกอบ เช่น มีดินแดนอาณาเขต มีประศาสนาต่างจากอาณาจักรทางโลก โดยมีส่วนประกอบกันขึ้นเป็นศาสนจักร ทำนอง
1.ศาสดา(ผู้ก่อตั้งศาสนา)
ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา ทรงคุณลักษณะพิเศษแตกต่างกันไปตามประเภทของศาสนา แต่ ณ ที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกล่าวคือ ศาสดาสานาเทวนิยมและศาสดาศาสนาอเทวนิยม
- ศาสดาของสานาเทวนิยม หมายถึงศาสนทูตของพระเจ้าเพราะพระองค์ประสงค์ที่จะช่วยกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากบาปหรือความทุกข์ทรมาน จึงได้แสดงพระองค์ให้ปรากฏแก่มนุษย์ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
(2)บางศาสนาเชื่อศาสดาในฐานะนักพรตหรือฤาษี ซึ่งบำเพ็ญตบะอย่างแรงกล้า สามารถได้เห็นได้ยินเสียงทิพย์ขณะจิตใจสงบ จดจำคำของเทพเจ้าได้ และนำมาจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรกลายเป็นคัมภีร์ทางศาสนาขึ้น เช่น คัมภีร์พระเวท หรือ ศรุติ คือ คัมภีร์ว่าด้วยความรู้ที่ได้มาจากการฟังของฤาษีเหล่านี้คือ กัสยประ, อรตี, ภารทวาชะ และเคาตมะ เป็นต้น ต่อมาท่านนักพรตเหล่านี้ได้ถูกสภาปนาขึ้นเป็นเทพเจ้าในสวรรค์
(3)บางศาสนาเชื่อศาสดาในฐานะผู้พยากรณ์ หมายถึงผู้ประกาศข่าวดีอ้ันเป็นสารของพระเจ้า และทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดกับมนุษย์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในศาสนายิว เชื่อเรื่องพระผู้มาโปรด เช่น โมเสส เป็นต้น ต่อมาทำให้เกิดศาสนาตริสต์ ซึ่งศาสนาคริสต์ถือว่าศาสดาพยากรณ์ทุกองค์ในศาสนายิว คือ ผู้มาเตรียมทางไว้สำหรับพระเยซูคริสต์ ส่วนศาสนาอิสลามยอมรับว่ามีศาสดาพยากรณ์มาแล้วเป็นอันมาก เช่น โมเสสหรือมูซาในศาสนายิว และพระเยซูหรือศาสดาอีซาในศาสนาคริสต์ ศาสดาพยากรณ์หรือนะบีเหล่านั้นคือ ศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้าซึ่งท่านนะบีมุฮัมมัดเป็นศาสดาพยากณ์องค์สุดท้าย
- ศาสดาของศาสนาอเทวนิยม คือ นมุษย์ผู้ค้นพบหลักสัจธรรมด้วยตนเอง หรือรวบรวมหลักธรรมคำสอนเสร็จแล้วนำมาประกาศเผยแผ่แก่ผู้อื่น และตั้งศาสนาของตนขึ้นได้ โดยสอนให้พึ่งตนเอง ไม่สอนให้กราบไหว้วิงวอนขอจากสิ่งภายนอก แบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
(2) ศาสดามหาพรต (คือศาสดาในศาสนาเชน เรียกอีกอย่างว่า ตีรถังการมีอยู่ 24 องค์ องค์สุดท้ายนามว่า มหาวีระ สอนเน้นการบำเพ็ญพรตแบบทรมานตนด้วยหลักอหิงสาอย่างยิ่งยวด ปฏิเสธเทวนิยมแบบพราหมณ์ ยืนยันชะตากรรมลิขิต
(3) ศาสดานักปราชญ์ คือ ศาสดาที่ไม่ได้ออกบวชเป็นสมณะหรือนักพรต ดำเนินชีวิตอยู่อย่างผู้ครองเรือน แต่สนใจในศาสนาและการปฏิบัติ เข้าใจศาสนาแตกฉนรวบรวมระบบจริยธรรมตามที่เป็นโบราณธรรม และหลักปฏิบัติตนในครอบครัวบ้าง เช่น ขงจื้อหรือเล่าจื้อ เป็นต้น
2.คัมภีร์ศาสนา(บรรจุคำสอนของพระศาสดา)


3.นักบวช(ผู้สืบต่อศาสนา/ศาสนทายาท)
- นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้ยอมสละการครองชีวิตอย่างคฤหัสถ์อุทิศตนเพื่อศาสนาที่นับถือ ในศาสนาเทวนิยมนักบวชนอกจากจะเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์แล้วยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งปวงตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนกิจต่าง ๆ
- ส่วนในศาสนาอเทวนิยม เช่น ศาสนาพุทธ นักบวชคือผู้เข้าสู่ธรรมวินัย ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่ออบรมขัดเกลาชีวิต มุ่งตรงต่อนิพพาน เรียกภิกษุบ้าง สมณะบ้าง ทำหน้าที่อบรมตนและช่วยเหลือสังคม
4.วัด หรือ ศาสนสถาน/ปูชนียสถาน(สถานที่เคารพบูชาทางศาสนารวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช)
ศาสนสถาน คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัดพุทธ และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้นศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธมีศาสนสถานสำคัญ คือ วัด ในวัดมี โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ เมรุ หอสวดมนต์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม และสถูป เป็นต้น เป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นที่พำนักของพระภิกษุ เและเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์มีศาสนสถานสำคัญ คือ โบสถ์คริสต์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่สักการบูชาพระเป็นเจ้าหรือเป็นที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบัพติศมา พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
นอกจากโบสถ์แล้ว ยังมีศาสนสถานประเภทอื่น ๆ อีก เช่น บาซิลิกา อาสนวิหาร ชาเปล อาราม เป็นต้น
ศาสนาอิสลาม
ศาสนสถานสำคัญของศาสนาอิสลาม คือ
มัสยิด โดยชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้น
เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
5.เครืองหมาย(รวมทั้งปูชนียวัตถุ)
คือสิ่งที่เคารพบูชาเพิ่มข้อมูลส่วนประกอบ
พิธีกรรม
ปูชนียวัตถุ