2012年11月23日星期五

ศิลปะ ทวารวดี

ศิลปะทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมากก็ตาม



พระพุทธรูป

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ


  • มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
  • พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
  • พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก



พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่พระปฐมเจดีย์







ศิลปะ ศรีวิชัย

ศิลปะ ศรีวิชัย


  • นิยามของศิลปะศรีวิชัยมีความคล้ายคลึงกับนิยามของศิลปะล้านนาตรงที่มีการผสมผสานศิลปะหลากหลายแขนงจากอินเดีย จำปา (เวียดนาม) และชวากลางเข้าไว้ด้วยกัน ศิลปะศรีวิชัยยังอาจใช้อ้างอิงถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมทุกแขนงในภาคใต้ของไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7–13 ได้ด้วย
  • อาณาจักรศรีวิชัยปกครองโดยราชวงศ์ไศเลนทราแห่งชวากลาง และยังได้ปกครองหมู่เกาะชวา แหลมมลายู และภาคใต้ของไทยไปจนถึงคอคอดกระอีกด้วย





พระโพธิส้ตว์อวโลกิเตศวรสำริด อยู่ที่พิพิธภ้ณฑ์พระนคร


พระพุทธรูปสำริดสมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ


พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ

  • สถูปวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่มักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า " พระบรมธาตุไชยา" ในชั้นเดิมอาจจะมีการสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับสถูปในวัดแก้ว (หรือวัดรัตนาราม) ที่ตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองโบราณไชยา







  • พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่ของประเทศไทย
  • ตัวอย่างของศิลปะศรีวิชัย โดยเฉพาะเครื่องสัมฤทธิ์สามารถหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพฯ 












ศิลปะ ลพบุรี

ศิลปะ ลพบุรี

  • ศิลปะลพบุรีหมายถึง รูปแกะสลักในบริเวณลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 (ซึ่งมี เมืองลพบุรีเป็นราชธานีทั้งในยุคก่อนเรื่อยจนมาถึงปัจจุบันนี้)
  • งานสถาปัตยกรรมเป็นแบบเขมร
  • เราสามารถจำแนกศิลปะลพบุรีได้โดยที่ศิลปะลพบุรีได้รับอิทธิพลมาจากมอญ และเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา งานศิลปะหลักๆ จะเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ซึ่งแตกต่างจากเขมรซึ่งจะมุ่งเน้นเทพเจ้าฮินดู
  • สามารถหาชมตัวอย่างประติมากรรมเหล่านี้และอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ และพิพิธภัณฑ์ตามภูมิภาคต่างๆ




พระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก








ศิลปะ สุโขทัย

ศิลปะ สุโขทัย

สถาปัตยกรรมสมัยสุโขมัย สร้างจากศิลาแลงและปูนปั้น ณ ศรีสัชนาลัย


พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย


พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยสุโขทัย ณ เฉลียง


  • ศิลปะสมัยสุโขทัย
  • ศิลปะสุโขทัยหมายถึงศิลปะใน ยุคอาณาจักรสุโขทัย (ซึ่งมีความหมายว่ารุ่งอรุณแห่งความสุข) รูปแกะสลัก (ซึ่งทำจากโลหะสัมฤทธิ์ ปูนและหิน) ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้มีการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ ขึ้น โดยผสานรวมความสงบนิ่งของจิตวิญญาณเข้ากับร่างกายของมนุษย์ และสะท้อนให้เห็นได้จากพระพุทธรูปที่มีอยู่จำนวนมากมาย ผู้แกะสลักไม่ได้แกะสลักพระพุทธรูปตามรูปแบบร่างกายของมนุษย์ แต่อาศัยการตีความคำอุปมาจากในบทสวดและจากพระคัมภีร์ซึ่งเป็นภาษาบาลี















  • สถานที่หาชมตัวอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย
  • พระพุทธรูปก่ออิฐปูนปั้นมีหลงเหลืออยู่ในซากปรักหักพังของวัดวาอารามต่างๆ ที่สร้างพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นมา โดยมีอยู่ที่สุโขทัยและบริเวณเมืองหน้าด่าน เฉลียง ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
  • ตัวอย่างที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด ได้แก่
    • พระพุทธรูปปางลีลา ณ วัดพระรัตนมหาธาตุ ณ เฉลียง ศรีสัชนาลัย
    • พระพุทธรูปหินและพระพุทธรูปปูนปั้น ณ วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
    • พระพุทธรูปหินและพระพุทธรูปปูนปั้น ณ วัดศรีชุม
  • เทวรูปสัมฤทธิ์เทพเจ้าฮินดูที่สภาพสมบูรณ์ที่สุดหาชมได้ที่
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ และ
  • อีกสองแห่งที่มีตัวอย่างเทวรูปที่สมบูรณ์ คือ พิพิธภัณฑ์รามคำแหง และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

2012年11月18日星期日

เมืองหลวงของจีน


ราชวงศ์ถัง ฉางอาน (長安) พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450 (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907)

ราชวงศ์ซ่งเหนือ ไคฟง (開封) พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670 (ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1127)

ราชวงศ์ซ่งใต้ หลินอัน (臨安) พ.ศ. 1670 - พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1127 - ค.ศ. 1279)

ราชวงศ์หยวน ต้าตู (大都) พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1264 - ค.ศ. 1368)

ราชวงศ์หมิง นานกิง (南京) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1420)

ราชวงศ์หมิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1644)

ราชวงศ์ชิง ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2187 - พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1644 - ค.ศ. 1911)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2471 (ค.ศ.
1912 - ค.ศ. 1928)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1928 - ค.ศ. 1937)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 อู่ฮั่น (武漢) พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1934 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2480 - 2488 (ค.ศ. 1937 - 1945 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 นานกิง (南京) พ.ศ. 2488 - 2492 (ค.ศ. 1945 - 1949)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 กว่างโจว (廣州) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)

สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949 ฉงชิ่ง (重慶) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)

สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ไทเป (臺北) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน

สาธารณรัฐประชาชนจีน ปักกิ่ง (北京) พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน

ตารางแสดงช่วงเวลาของราชวงศ์และยุคในประวัติศาสตร์จีน


  • ก่อนประวัติศาสตร์ ราว 3 ล้านปี – ปี 2100 ก่อน ค.ศ.
  • ราชวงศ์เซี่ย (夏) ราวปี 2100 – 1600 ก่อน ค.ศ. ราว 500 ปี
  • ราชวงศ์ซาง (商) ราวปี 1600 - 1028 ก่อน ค.ศ. ราว 550 ปีขึ้นไป
  • ราชวงศ์โจว (周) ราวปี 1027 – 256 ก่อน ค.ศ. ราว 770 ปี แยกได้เป็น
  • โจวตะวันตก (西周) ราวปี 1027 – 771 ก่อน ค.ศ. ราว 250 ปี
  • โจวตะวันออก (東周) ปี 770 – 256 ก่อน ค.ศ. ราว 515 ปี
  • ราชวงศ์ฉิน (秦) ปี 221 – 207 ก่อน ค.ศ. รวม 15 ปี
  • ราชวงศ์ฮั่น (漢) ปี 202 ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220 รวม 422 ปี แยกได้เป็น
  • ฮั่นตะวันตก (西漢) ปี 202 ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 8 รวม 210 ปี
  • ซิน (新) ค.ศ. 9 – 23 รวม 15 ปี
  • ฮั่นตะวันออก (東漢) ค.ศ. 25 - 220 รวม 196 ปี
  • ยุคสามก๊ก (三國]) ค.ศ. 220 – 265 รวม 46 ปี แยกได้เป็น
  • เว่ย (魏) ค.ศ. 220 – 265
  • สู่ (蜀) ค.ศ. 221 – 263
  • อู๋ (吳) ค.ศ. 229 – 280
  • ราชวงศ์จิ้น (晉) ค.ศ. 265 – 420 รวม 156 ปี แยกได้เป็น
  • จิ้นตะวันตก (西晉) ค.ศ. 265 – 316 รวม 52 ปี
  • จิ้นตะวันออก (東晉) ค.ศ. 317 – 420 รวม 103 ปี
  • ยุคราชวงศ์ใต้และเหนือ (南朝 - 北朝) ค.ศ. 420 – 589 รวม 170 ปี แยกได้เป็น
  • ยุคราชวงศ์ใต้ แยกย่อยได้เป็น
  • ซ่ง (宋) ค.ศ. 420 – 479
  • ฉี (齊) ค.ศ. 479 – 502
  • เหลียง (梁) ค.ศ. 502 – 557
  • เฉิน (陳) ค.ศ. 557 – 589
  • ยุคราชวงศ์เหนือ แยกย่อยได้เป็น
  • เว่ยเหนือ (北魏) ค.ศ. 386 – 534
  • เว่ยตะวันออก (東魏) ค.ศ. 534 – 550
  • เว่ยตะวันตก (西魏) ค.ศ. 535 – 556
  • ฉีเหนือ (北齊) ค.ศ. 550 – 557
  • โจวเหนือ (北周) ค.ศ. 557 – 581
  • ราชวงศ์สุย (隋) ค.ศ. 581 – 618 รวม 38 ปี
  • ราชวงศ์ถัง (唐) ค.ศ. 618 – 907 รวม 290 ปี
  • ยุคห้าราชวงศ์ (五代) และยุคสิบแคว้น (十國) ค.ศ. 907 – 960 รวม 54 ปี แยกได้เป็น
  • ยุคห้าราชวงศ์
  • โฮ่วเหลียง (後梁) ค.ศ. 907 – 923
  • โฮ่วถัง (後唐) ค.ศ. 923 – 936
  • โฮ่วจิ้น (後晉) ค.ศ. 936 – 946
  • โฮ่วฮั่น (後漢) ค.ศ. 947 – 950
  • โฮ่วโจว (後周) ค.ศ. 951 – 960
  • ยุคสิบแคว้น
  • อู๋ (吳) ค.ศ. 902 – 937
  • ถังใต้ (南唐) ค.ศ. 937 – 975
  • เฉียนสู (前蜀) ค.ศ. 907 – 925
  • โฮ่วสู (後蜀) ค.ศ. 934 – 965
  • อู๋เยว่ (吳越) ค.ศ. 907 – 978
  • ฉู่ (楚) ค.ศ. 926 – 951
  • หมิ่น (閩) ค.ศ. 909 – 945
  • ฮั่นใต้ (南唐) ค.ศ. 937 – 975
  • ผิงใต้ (南平) หรือ จิงหนาน (荊南) ค.ศ. 924 – 963
  • ฮั่นเหนือ (北漢) ค.ศ. 951 – 979
  • ราชวงศ์ซ่ง (宋) ค.ศ. 960 – 1279 รวม 320 ปี แยกได้เป็น
  • ซ่งเหนือ (北宋) ค.ศ. 960 – 1127 รวม 168 [[ปี]
  • ซ่งใต้ (南宋) ค.ศ. 1127 – 1279 รวม 153 ปี
  • ราชวงศ์หยวน (元) ค.ศ. 1271 – 1368 รวม 98 ปี
  • ราชวงศ์หมิง (明) ค.ศ. 1368 – 1644 รวม 277 ปี
  • ราชวงศ์ชิง (清) ค.ศ. 1644 – 1912 รวม 267 ปี

ประวัติศาสตร์จีน

ประวัติศาสตร์จีน

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รองจากอารยธรรมอียิปต์

1. ราชวงศ์เซี่ย (2100-1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • ปกครองจีนในช่วง 2100-1600ปีก่อนคริสตกาล (1557-1057 ปีก่อนพ.ศ.) มีอำนาจอยู่แถบมณฑลชานสีในปัจจุบัน ใกล้ลุ่มน้ำเหลือง กษัตริย์เซี่ยองค์แรก คือ พระเจ้าอี่ เริ่มประเพณีการสืบราชสมบัติตามสายโลหิต


เขตแดนราชวงศ์เซี่ย

2. ราชวงศ์ซาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี คือ ตั้งแต่ 1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช (1057-503 ปีก่อนพ.ศ.) ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อตั้งกองทหาร

เขตแดนราชวงศ์ซาง




" ติ่ง " ภาชนะดินเผาใช้ในการหุงหาอาหาร

3. ราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี (ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก




เขตแดนราชวงศ์โจว


4. ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • เผ่าโจวเป็นเผ่าเก่าแก่และใช้แซ่ จี โดยอาศัยแถบลุ่มน้ำเว่ยเหอ ต่อมาย้ายถิ่นไปอยู่ ฉีซาน (ด้านเหนืออำเภอฉีซาน มณฑลฉ่านซีปัจจุบัน) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูกมากกว่า แล้วเรียกตนเองว่า ชาวโจว

5. ยุคชุนชิว (770-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
  • หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลงโดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้ เนื่องจากเมืองเฮ่าได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้อย่างมาก นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็นเจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนค.ศ. (227 ปีก่อนพ.ศ.)

6. ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จีนยุคจักรวรรดิ
  • นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)

เขตแดนราชวงศ์ฉิน
  • สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิม จากการก่อสร้างของรัฐต่าง ๆ สมัยจ้านกั๊ว การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น
  • ฉินซีฮ่องเต้เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน (韩) จ้าว (赵) เว้ย (魏) ฉู่ (楚) เยียน (燕) และฉี (齐) ในที่สุดการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นมหาอำนาจทาง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม กล่าวคือมีการใช้ภาษาเขียนภาษาเดียวคือจีน มาตราชั่งตวง วัด การเงิน เป็นหน่วยเดียวกันทั่วประเทศ

7. ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)

เขตแดนของราชวงศ์ฮั่น

8. ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)
  • ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
9. ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)
  • ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง
  • ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 (พ.ศ. 727) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก
  • เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
10. ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)
  • เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่, ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น
  • ค.ศ. 263 (พ.ศ. 806) ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย
  • ค.ศ. 265 (พ.ศ. 808) ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น
  • ค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์
11. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)

12. ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420)

13. ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)

14. ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)
  • สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) (ค.ศ. 581-617)

เขตแดนราชวงศ์สุย


15. ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)
  • หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน

ภาพเขตแดนราชวงศ์ถัง


16. ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)

17. ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)

18. ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)

19. ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)

20. ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)

21. ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912-1949)

22. ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949-ปัจจุบัน)