2012年12月16日星期日

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

 วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป








ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)




เพลงลอยกระทง

ภาษาไทย

ภาษาจีน



นางนพมาศ



ทำกระทง


สไตล์ของกระทง

ทำกับใบตองอ




ทำกับดอกบัว




ทำกับขนมปัง



ทำกับกรวย





ทำกับเปลือกกล้วย





ทำกับกะลา










2012年12月11日星期二

Modernism & Postmodernism

 Modernism & Postmodernism

นวยุคนิยม แนวคิดหลังยุคนวนิยม


นวยุคนิยม

สมัยใหม่นิยม หรือ ทันสมัยนิยม หรือ นวนิยม (อังกฤษ: modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้

แนวคิดหลังยุคนวนิยม

แนวคิดหลังยุคนวนิยม(อังกฤษ: Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)

นวยุคนิยมสถาปัตยกรรมของจีน




นวยุคนิยมสถาปัตยกรรมของไทย



นวยุคนิยมของจีน





นวยุคนิยมของไทย





แนวคิดหลังยุคนวนิยมของจีน






แนวคิดหลังยุคนวนิยมของไทย






หนูชอบความคิดแนวคิดหลังยุคนวนิยม

เพราะรู้สึกว่าแนวคิดหลังยุคนวนิยม แม้ว่าดูมันจะแปลก ๆ แต่เป็นสิ่งใหม่ ๆ มีการออกแบบ มีสร้างสรรค์ ทันสมัย ก็ ชอบ


2012年11月23日星期五

ศิลปะ ทวารวดี

ศิลปะทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมากก็ตาม



พระพุทธรูป

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ


  • มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
  • พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
  • พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก



พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่พระปฐมเจดีย์







ศิลปะ ศรีวิชัย

ศิลปะ ศรีวิชัย


  • นิยามของศิลปะศรีวิชัยมีความคล้ายคลึงกับนิยามของศิลปะล้านนาตรงที่มีการผสมผสานศิลปะหลากหลายแขนงจากอินเดีย จำปา (เวียดนาม) และชวากลางเข้าไว้ด้วยกัน ศิลปะศรีวิชัยยังอาจใช้อ้างอิงถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมทุกแขนงในภาคใต้ของไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7–13 ได้ด้วย
  • อาณาจักรศรีวิชัยปกครองโดยราชวงศ์ไศเลนทราแห่งชวากลาง และยังได้ปกครองหมู่เกาะชวา แหลมมลายู และภาคใต้ของไทยไปจนถึงคอคอดกระอีกด้วย





พระโพธิส้ตว์อวโลกิเตศวรสำริด อยู่ที่พิพิธภ้ณฑ์พระนคร


พระพุทธรูปสำริดสมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ


พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ

  • สถูปวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่มักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า " พระบรมธาตุไชยา" ในชั้นเดิมอาจจะมีการสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับสถูปในวัดแก้ว (หรือวัดรัตนาราม) ที่ตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองโบราณไชยา







  • พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่ของประเทศไทย
  • ตัวอย่างของศิลปะศรีวิชัย โดยเฉพาะเครื่องสัมฤทธิ์สามารถหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพฯ 












ศิลปะ ลพบุรี

ศิลปะ ลพบุรี

  • ศิลปะลพบุรีหมายถึง รูปแกะสลักในบริเวณลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 (ซึ่งมี เมืองลพบุรีเป็นราชธานีทั้งในยุคก่อนเรื่อยจนมาถึงปัจจุบันนี้)
  • งานสถาปัตยกรรมเป็นแบบเขมร
  • เราสามารถจำแนกศิลปะลพบุรีได้โดยที่ศิลปะลพบุรีได้รับอิทธิพลมาจากมอญ และเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา งานศิลปะหลักๆ จะเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ซึ่งแตกต่างจากเขมรซึ่งจะมุ่งเน้นเทพเจ้าฮินดู
  • สามารถหาชมตัวอย่างประติมากรรมเหล่านี้และอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ และพิพิธภัณฑ์ตามภูมิภาคต่างๆ




พระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก