2013年1月20日星期日

ส่วนประกอบของศาสานา

ส่วนประกอบของศาสานา

ศาสนาต่างจากอาณาจักรทางโลก โดยมีส่วนประกอบกันขึ้นเป็นศาสนจักร ทำนอง เดียวกับอาณาจักทางโลก ก็ย่อมมีส่วนประกอบ เช่น มีดินแดนอาณาเขต มีประศาสนาต่างจากอาณาจักรทางโลก โดยมีส่วนประกอบกันขึ้นเป็นศาสนจักร ทำนอง

1.ศาสดา(ผู้ก่อตั้งศาสนา)

   ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา ทรงคุณลักษณะพิเศษแตกต่างกันไปตามประเภทของศาสนา แต่ ณ ที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกล่าวคือ ศาสดาสานาเทวนิยมและศาสดาศาสนาอเทวนิยม



  • ศาสดาของสานาเทวนิยม หมายถึงศาสนทูตของพระเจ้าเพราะพระองค์ประสงค์ที่จะช่วยกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากบาปหรือความทุกข์ทรมาน จึงได้แสดงพระองค์ให้ปรากฏแก่มนุษย์ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
(1) บางศาสนาเชื่อว่าศาสดาในฐานะเทพอวตารที่แปลงกายจากภาคพระเจ้าในสวรรค์สงมาในร่างของมนุษย์ ทำหน้าที่ของตนเสร็จแล้วก็กลับสู่สวรรค์อย่างเดิม ได้แก่ เทพอวตารในศาสนาอินดูที่เรียกว่านารายณ์อวตาร พระเยซูในศาสนาคริสต์ นักบุญจอห์น กล่าวว่าเป็นพระเจ้ากลับกลายเป็นมนุษย์แต่นักศาสนาบางท่าน เช่น ฮีโอโดตุส ไม่ยอมรับโดยกล่าวว่า พระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ลงสู่พระเยซูในขณะรับศีลพระเจ้าจึงไม่ใช่พระเยซู พระเยซูไม่ใช่บุตรของพระเจ้าแต่เป็นบุตรบุญธรรมเท่านั้น

(2)บางศาสนาเชื่อศาสดาในฐานะนักพรตหรือฤาษี ซึ่งบำเพ็ญตบะอย่างแรงกล้า สามารถได้เห็นได้ยินเสียงทิพย์ขณะจิตใจสงบ จดจำคำของเทพเจ้าได้ และนำมาจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรกลายเป็นคัมภีร์ทางศาสนาขึ้น เช่น คัมภีร์พระเวท หรือ ศรุติ คือ คัมภีร์ว่าด้วยความรู้ที่ได้มาจากการฟังของฤาษีเหล่านี้คือ กัสยประ, อรตี, ภารทวาชะ และเคาตมะ เป็นต้น ต่อมาท่านนักพรตเหล่านี้ได้ถูกสภาปนาขึ้นเป็นเทพเจ้าในสวรรค์

(3)บางศาสนาเชื่อศาสดาในฐานะผู้พยากรณ์ หมายถึงผู้ประกาศข่าวดีอ้ันเป็นสารของพระเจ้า และทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดกับมนุษย์ในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในศาสนายิว เชื่อเรื่องพระผู้มาโปรด เช่น โมเสส เป็นต้น ต่อมาทำให้เกิดศาสนาตริสต์ ซึ่งศาสนาคริสต์ถือว่าศาสดาพยากรณ์ทุกองค์ในศาสนายิว คือ ผู้มาเตรียมทางไว้สำหรับพระเยซูคริสต์ ส่วนศาสนาอิสลามยอมรับว่ามีศาสดาพยากรณ์มาแล้วเป็นอันมาก เช่น โมเสสหรือมูซาในศาสนายิว และพระเยซูหรือศาสดาอีซาในศาสนาคริสต์ ศาสดาพยากรณ์หรือนะบีเหล่านั้นคือ ศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้าซึ่งท่านนะบีมุฮัมมัดเป็นศาสดาพยากณ์องค์สุดท้าย

  • ศาสดาของศาสนาอเทวนิยม คือ นมุษย์ผู้ค้นพบหลักสัจธรรมด้วยตนเอง หรือรวบรวมหลักธรรมคำสอนเสร็จแล้วนำมาประกาศเผยแผ่แก่ผู้อื่น และตั้งศาสนาของตนขึ้นได้ โดยสอนให้พึ่งตนเอง ไม่สอนให้กราบไหว้วิงวอนขอจากสิ่งภายนอก แบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
(1) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ท่านตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นศาสดาในฐานะเป็นครูแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง

(2) ศาสดามหาพรต (คือศาสดาในศาสนาเชน เรียกอีกอย่างว่า ตีรถังการมีอยู่ 24 องค์ องค์สุดท้ายนามว่า มหาวีระ สอนเน้นการบำเพ็ญพรตแบบทรมานตนด้วยหลักอหิงสาอย่างยิ่งยวด ปฏิเสธเทวนิยมแบบพราหมณ์ ยืนยันชะตากรรมลิขิต

(3) ศาสดานักปราชญ์ คือ ศาสดาที่ไม่ได้ออกบวชเป็นสมณะหรือนักพรต ดำเนินชีวิตอยู่อย่างผู้ครองเรือน แต่สนใจในศาสนาและการปฏิบัติ เข้าใจศาสนาแตกฉนรวบรวมระบบจริยธรรมตามที่เป็นโบราณธรรม และหลักปฏิบัติตนในครอบครัวบ้าง เช่น ขงจื้อหรือเล่าจื้อ เป็นต้น


2.คัมภีร์ศาสนา(บรรจุคำสอนของพระศาสดา)

หมายถึงหนังสือตำราที่สำคัญทางศาสนาที่พิมพ์เป็นรูปเล่มหรือเขียนลงในสมุดข่อย เช่นเรียกพระไตรปิฎกว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก เรียกหนังสืออรรถกถาว่าคัมภีร์อรรถกถา เช่น ตัวอย่างคำวัดว่า "สามเณร ไปหยิบหนังสือคัมภีร์ในตู้มาหน่อยซิ" เป็นต้น



3.นักบวช(ผู้สืบต่อศาสนา/ศาสนทายาท)

  • นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้ยอมสละการครองชีวิตอย่างคฤหัสถ์อุทิศตนเพื่อศาสนาที่นับถือ ในศาสนาเทวนิยมนักบวชนอกจากจะเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์แล้วยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทั้งปวงตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนกิจต่าง ๆ
  • ส่วนในศาสนาอเทวนิยม เช่น ศาสนาพุทธ นักบวชคือผู้เข้าสู่ธรรมวินัย ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์คือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่ออบรมขัดเกลาชีวิต มุ่งตรงต่อนิพพาน เรียกภิกษุบ้าง สมณะบ้าง ทำหน้าที่อบรมตนและช่วยเหลือสังคม



4.วัด หรือ ศาสนสถาน/ปูชนียสถาน(สถานที่เคารพบูชาทางศาสนารวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช)

ศาสนสถาน คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัดพุทธ และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้น

ศาสนาพุทธ


ศาสนาพุทธมีศาสนสถานสำคัญ คือ วัด ในวัดมี โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ เมรุ หอสวดมนต์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม และสถูป เป็นต้น เป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นที่พำนักของพระภิกษุ เและเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ









ศาสนาคริสต์


ศาสนาคริสต์มีศาสนสถานสำคัญ คือ โบสถ์คริสต์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่สักการบูชาพระเป็นเจ้าหรือเป็นที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบัพติศมา พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
นอกจากโบสถ์แล้ว ยังมีศาสนสถานประเภทอื่น ๆ อีก เช่น บาซิลิกา อาสนวิหาร ชาเปล อาราม เป็นต้น









ศาสนาอิสลาม


ศาสนสถานสำคัญของศาสนาอิสลาม คือ 
มัสยิด โดยชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้น
เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา









5.เครืองหมาย(รวมทั้งปูชนียวัตถุ)

คือสิ่งที่เคารพบูชาเพิ่มข้อมูลส่วนประกอบ

พิธีกรรม                                         

ปูชนียวัตถุ

2012年12月16日星期日

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

 วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป








ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)




เพลงลอยกระทง

ภาษาไทย

ภาษาจีน



นางนพมาศ



ทำกระทง


สไตล์ของกระทง

ทำกับใบตองอ




ทำกับดอกบัว




ทำกับขนมปัง



ทำกับกรวย





ทำกับเปลือกกล้วย





ทำกับกะลา










2012年12月11日星期二

Modernism & Postmodernism

 Modernism & Postmodernism

นวยุคนิยม แนวคิดหลังยุคนวนิยม


นวยุคนิยม

สมัยใหม่นิยม หรือ ทันสมัยนิยม หรือ นวนิยม (อังกฤษ: modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้

แนวคิดหลังยุคนวนิยม

แนวคิดหลังยุคนวนิยม(อังกฤษ: Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)

นวยุคนิยมสถาปัตยกรรมของจีน




นวยุคนิยมสถาปัตยกรรมของไทย



นวยุคนิยมของจีน





นวยุคนิยมของไทย





แนวคิดหลังยุคนวนิยมของจีน






แนวคิดหลังยุคนวนิยมของไทย






หนูชอบความคิดแนวคิดหลังยุคนวนิยม

เพราะรู้สึกว่าแนวคิดหลังยุคนวนิยม แม้ว่าดูมันจะแปลก ๆ แต่เป็นสิ่งใหม่ ๆ มีการออกแบบ มีสร้างสรรค์ ทันสมัย ก็ ชอบ


2012年11月23日星期五

ศิลปะ ทวารวดี

ศิลปะทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมากก็ตาม



พระพุทธรูป

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ


  • มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
  • พัฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
  • พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก



พระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่พระปฐมเจดีย์







ศิลปะ ศรีวิชัย

ศิลปะ ศรีวิชัย


  • นิยามของศิลปะศรีวิชัยมีความคล้ายคลึงกับนิยามของศิลปะล้านนาตรงที่มีการผสมผสานศิลปะหลากหลายแขนงจากอินเดีย จำปา (เวียดนาม) และชวากลางเข้าไว้ด้วยกัน ศิลปะศรีวิชัยยังอาจใช้อ้างอิงถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมทุกแขนงในภาคใต้ของไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7–13 ได้ด้วย
  • อาณาจักรศรีวิชัยปกครองโดยราชวงศ์ไศเลนทราแห่งชวากลาง และยังได้ปกครองหมู่เกาะชวา แหลมมลายู และภาคใต้ของไทยไปจนถึงคอคอดกระอีกด้วย





พระโพธิส้ตว์อวโลกิเตศวรสำริด อยู่ที่พิพิธภ้ณฑ์พระนคร


พระพุทธรูปสำริดสมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ


พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ

  • สถูปวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถูปที่มักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่า " พระบรมธาตุไชยา" ในชั้นเดิมอาจจะมีการสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับสถูปในวัดแก้ว (หรือวัดรัตนาราม) ที่ตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองโบราณไชยา







  • พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยจากจังหวัดกระบี่ของประเทศไทย
  • ตัวอย่างของศิลปะศรีวิชัย โดยเฉพาะเครื่องสัมฤทธิ์สามารถหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพฯ